การเลือก Vendor หรือผู้ให้บริการในโครงการ Big Data
top of page

การเลือก Vendor หรือผู้ให้บริการในโครงการ Big Data


การเลือกผู้ให้บริการหรือ Vendor ในโครงการ Big Data
การเลือกผู้ให้บริการหรือ Vendor ในโครงการ Big Data


คำว่า Big Data ได้ชื่อว่าเป็น Buzzword อย่างหนึ่ง ทำให้เรามักจะพบเจอโครงการที่เรียกว่าเป็น Big Data ในรูปแบบต่างๆเช่น การซื้อระบบ การวิเคราะห์พฤติกรรมลูกค้าหรือแม้แต่การทำเว็บไซด์เพื่อนำเสนอข้อมูล

ไม่เพียงแต่ในมุมของโครงการเพียงอย่างเดียว แต่ผู้ให้บริการหรือ Vendor ที่ใช้คำว่า Big Data เป็น Keyword ก็มีหลากหลายเช่นกัน

รูปแบบของบริษัทต่างๆที่ใช้คำว่า Big Data เป็นคำอธิบายของบริษัทมีดังนี้

1. SI หรือ System Integration ส่วนใหญ่เป็นบริษัทขนาดกลาง-ใหญ่ เป็นบริษัทที่มี License ของ Hardware และ Software เดิมจะเน้นการขายระบบที่สำเร็จรูปแต่ปัจจุบันบริษัท SI หลายบริษัทจะรับพัฒนาโครงการด้วย (บางครั้งก็จะร่วมพัฒนากับกับบริษัท Developer) ซึ่ง SI แต่ละเจ้าจะมีความถนัดใน ผลิตภัณฑ์ (Product) ที่ต่างกัน ขึ้นอยู่กับว่าแต่ละบริษัทเน้นทำยอดขายของผลิตภัณฑ์ตัวไหนเป็นพิเศษ แต่ก็มี SI หลายรายที่มีผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายและสามารถเสนอแนวทางการพัฒนาหรือ Solution ที่ครบองค์รวมได้

2. Developer หรือ Implementer มีลักษณะการขายในรูปแบบการบริการ (Service) เป็นบริษัทรับพัฒนาโครงการโดยเน้นการเขียนโปรแกรมขึ้นมาเอง ซึ่งในปัจจุบันมีโปรแกรมที่เป็น Open-source เกิดขึ้นมากมายทำให้ไม่จำเป็นต้องลงทุนใน Software สำเร็จรูป เหมาะกับการดำเนินโครงการที่ต้องการความเป็นเอกลักษณ์หรือโครงการที่ระบบสำเร็จรูปไม่ตอบโจทย์

3. Digital Marketing บริษัทนี้จะเน้นขายบริการด้านการตลาดเท่านั้น โดยเขาจะใช้คำว่า Big Data เพื่อสื่อว่าจะมีการใช้ข้อมูลภายนอกในการวิเคราะห์ตลาดให้กับลูกค้า อาจจะเป็นข้อมูลจาก Social Media ประเภทต่างๆ การวิเคราะห์ Customer Journey ที่ใช้ข้อมูลจาก Platform ออนไลน์เป็นต้น แต่รูปแบบการทำงานจะไม่ใช่การสร้างระบบหรือ Platform ใดๆ

4. Supplier คือบริษัทเจ้าของเทคโนโลยี เช่น Oracle, Microsoft, AWS, Google, DataRobot เป็นต้น เป็นยี่ห้อของ Platform หรือ Software ที่จะใช้ดำเนินโครงการ บางเจ้าจะมีพนักงานขายหรือเซลล์เพื่อขายผลิตภัณฑ์ของตัวเองแต่ส่วนใหญ่จะต้องซื้อผ่านบริษัท SI

5. Startup โดยจะแตกต่างจาก Developer ตรงที่มี Product ที่เสร็จแล้วและจะนำเสนอขายการใช้ Product นั้น เช่นบริษัท Social Listening ที่มีการใช้คำว่า Big Data เพราะเขามีการรวบรวมข้อมูลขนาดใหญ่เอาไว้ให้ลูกค้าเข้ามาใช้งานได้ซึ่ง Product มักจะเป็นเรื่องใดเรื่องหนึ่งไม่ใช่ Product ที่พัฒนาแบบ Customize ให้ลูกค้ารายใดรายหนึ่ง

6. Data Provider เป็นบริษัทที่ขายข้อมูล(แต่ต้องไม่ใช่ข้อมูลส่วนบุคคล)หรือที่เรียกว่า Data Monetization เช่นการวิเคราะห์ GPS การวิเคราะห์จำนวนประชากรในแต่ละพื้นที่ เป็นต้น

7. บริษัทที่ปรึกษา (เท่านั้น) คือบริษัทที่รับให้คำปรึกษาโดยจะทำหน้าที่เข้าไปหา Gap Analysis ส่วนใหญ่จะเป็นโครงการ Digital Transformation แต่อาจจะไม่สามารถ Implement ได้เพราะไม่มีทีม Developer หลายครั้งพบว่าที่ปรึกษาที่ไม่เคย Implement จะไม่สามารถตอบคำถามในเชิงการปฏิบัติงานได้ เช่น ให้คำแนะนำเรื่องคุณภาพของข้อมูลแต่ไม่สามารถชี้แจงว่าแล้วจะต้อง Clean อย่างไร เป็นต้น

วิธีการเลือก Vendor ที่เหมาะสมควรมองหา Vendor ที่มี Site References และควรเป็น Vendor เหมาะสมกับโจทย์ของโครงการ องค์กรควรศึกษาและจัดเตรียมคำถามต่างๆ เพื่อให้ Vendor แสดงความสามารถและควรให้ Vendor เสนองานอย่างละเอียดเพื่อความเข้าใจในขอบเขตของการดำเนินโครงการอย่างครบถ้วนก่อนเริ่มโครงการ

นอกจากนี้การเปรียบเทียบ Solution ที่แต่ละ Vendor เสนอมาก็เป็นสิ่งสำคัญเช่นเดียวกัน เนื่องจากโครงการ Big Data ต้องการความยืดหยุ่นเพราะข้อมูลที่เกี่ยวข้องมีทั้งข้อมูลภายในและภายนอกซึ่งขยายตัวตลอดเวลา ในอนาคตจะมีแนวโน้มในการรับข้อมูลใหม่ๆอยู่ตลอด Solution ในโครงการ Big Data ที่เหมาะสมจึงควรเป็น Solution ที่ไม่ตายตัว

การเลือก Vendor นั้นสำคัญมากเพราะโครงการ Big Data ถือเป็นแกนกลางของการใช้ทรัพยากรข้อมูลและยิ่งโครงการมีขนาดไหนเท่าใดก็ต้องใช้ทักษะของ Vendor และต้องใช้ระยะเวลาอยู่กับโครงการมากเท่านั้น


 

We turn your DATA into your KEY of success.

#Coraline ให้คำปรึกษาและพัฒนาโครงการ Big Data, Data Model, Artificial Intelligence และ Digital Transformation เพื่อเพิ่มศักยภาพของธุรกิจ

คอราไลน์ให้บริการครบวงจรด้านข้อมูลมหัต (Big Data) ปัญญาประดิษฐ์ (AI) เพื่อการพัฒนาองค์กรให้ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลโดยสมบูรณ์ (Data Driven Transformation)

สนใจติดต่อ

Tel: 099-425-5398


แท็ก:

< Previous
Next >
bottom of page