หลายองค์กร มีการจัดซื้อโปรแกรม BI มาแล้ว แต่ไม่สามารถใช้ประโยชน์จากโปรแกรม BI ได้ นั้นเป็นเพราะอะไร?
เนื่องจากด้วยหลักการแล้ว โปรแกรม BI จะมีการนำเข้าข้อมูล (ส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปแบบตารางในสกุลต่างๆ เช่น xls, csv หรือ Database) หลังจากนั้น จะมีการนำข้อมูลไปผ่านกระบวนการต่างๆ เช่น การ Clean หรือ การจัดโครงสร้าง เพื่อสามารถนำข้อมูลมาวิเคราะห์ และส่งผลการวิเคราะห์ไปนำเสนอเป็น Data Visualization ดังนั้น การใช้ BI อย่างมีประสิทธิภาพ จำเป็นต้องมีความเข้าใจในตัว Data หรือ ข้อมูลของตัวเองเสียก่อน
ดังนั้น การจะใช้โปรแกรม BI ได้ ควรมีขั้นตอนในการดำเนินงานดังนี้
เขียนความต้องการในการใช้โปรแกรม BI ของตนเอง หรือขององค์กร เช่น มีขนาดของข้อมูลเท่าไหร่ ใครเป็นผู้ใช้งาน ต้องการสร้างกราฟในลักษณะใด
เปรียบเทียบ BI แต่ละยี่ห้อ เพื่อมองหาโปรแกรมที่เหมาะสม และตอบโจทย์มากที่สุด เช่น Power BI จะมีฟังก์ชั่นคล้ายกับ Microsoft Excel การนำเข้าของข้อมูลก็คล้ายคลึงกัน เหมาะกับคนที่ถนัด Excel อยู่แล้ว ในขณะที่ Tableau จะมีการนำเสนอ Data Visualization ได้หลากหลายกว่า เพียงแต่ลักษณะการใช้งาน จะเน้นข้อมูลที่เป็น Transaction มากกว่า
ศึกษาแนวทางในการเชื่อมโยง หรือ นำเข้าข้อมูล เช่น ต้องทำเป็น Table หรือ File แยกเอาไว้ หรือสามารถดึงข้อมูลจากถังข้อมูลได้เลย ทั้งนี้ การสร้างถังข้อมูลที่เชื่อมโยงกัน เป็นหน้าที่ของ Data Engineer มิใช่หน้าที่ของบริษัทโปรแกรม BI
เรียนรู้เครื่องมือต่างๆ ของโปรแกรม BI เพื่อวิเคราะห์ถึงความเป็นไปได้ในการใช้งานในแต่ละโครงการ
ทดลองใช้ และพยายามใช้งานอย่างต่อเนื่อง
ปัญหาส่วนใหญ่ในการใช้โปรแกรม BI มี 3 เรื่อง ได้แก่
1. ข้อมูลที่จะนำเข้า ไม่เรียบร้อย
เพราะข้อมูลส่วนใหญ่ เป็นข้อมูลที่มาจากหลากหลายแหล่งข้อมูล ก่อนที่จะนำมาใช้ในโปรแกรม BI จำเป็นต้องมีการเชื่อมโยง หรือจัดโครงสร้างเสียก่อน เพื่อให้สามารถใช้โปรแกรม BI ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม ผู้จัดจำหน่ายโปรแกรม BI มักจะชี้แจงว่า โปรแกรม BI มีฟังก์ขั่นในการเชื่อมโยง หรือ Clean ข้อมูล ซึ่งเป็นการทำงานภายใต้ข้อจำกัดที่ว่า ข้อมูลนั้นอยู่ในโครงสร้างที่เหมาะสมเท่านั้น
ความเป็นจริง จะมีความไม่เป็นระเบียบของข้อมูลมากมาย เช่น Format ของวันที่ไม่เหมือนกัน หน่วยของข้อมูลไม่เหมือนกัน บางข้อมูลเก็บเป็นหลักวัน บางข้อมูลเก็บเป็นหลักเดือน เป็นต้น ซึ่งจำเป็นต้องจัดโครงสร้างก่อน เพื่อนำมาใช้งานในโปรแกรม BI
ตัวอย่างวิธีการทำงาน จะเป็นแสดงใน Diagram นี้
จะเห็นได้ว่า ใน Diagram ข้างต้น มีการรวมข้อมูลเอาไว้ที่เดียวกันก่อน และมีการสร้าง Model บางประเภท (ส่วนใหญ่เป็น Model เชิงลึก เช่น Machine Learning Model) เอาไว้ข้างนอก และใช้ BI เพื่อแสดงผลลัพธ์
การทำงานในลักษณะนี้ จะสามารถได้รับผลลัพธ์ในเวลาอันรวดเร็ว
2. ปัญหาเรื่องการวิเคราะห์ข้อมูล
แม้ว่าโปรแกรม BI จะออกแบบมาเพื่อวิเคราะห์ข้อมูล แต่ในความเป็นจริงแล้ว การวิเคราะห์ข้อมูลในโปรแกรม BI ก็มีข้อจำกัดอยู่หลายประเด็น เช่น Machine Learning ในโปรแกรม BI ส่วนใหญ่จะเป็น Auto-Machine Learning ทำให้ไม่สามารถปรับจูนค่า Parameter ได้ เป็นต้น
ในการแก้ปัญหาเรื่องการวิเคราะห์ข้อมูล ให้แยกออกเป็นประเด็นย่อยๆ ดังนี้
การวิเคราะห์เชิงสถิติ เช่น การหาค่าเฉลี่ย การบวก ลบ คูณ หาร สามารถทำได้ในโปรแกรม BI
การวิเคราะห์เชิงลึก เช่น การสร้าง Machine Learning แนะนำให้ทำนอกโปรแกรม BI ตาม Diagram ข้างต้น
การวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ หรือ ข้อมูล Real Time แนะนำให้ทำนอกโปรแกรม BI ตาม Diagram เช่นกัน
จาก Diagram ข้างต้น จะเห็นได้ว่า มีการเขียน Model ประเภทต่างๆ แยกออกมาจากในตัว BI โดยจะนำส่งผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผล ไปเก็บเอาไว้ที่ถังข้อมูล ก่อนที่จะส่งข้อมูลเข้าไปแสดงผลที่ BI ในภายหลัง วิธีนี้ จะทำให้การแสดงผลเป็นไปได้รวดเร็วขึ้น เนื่องจาก BI จะโหลดข้อมูลเฉพาะที่ต้องแสดงผลเท่านั้น
3. ปัญหาเรื่องการทำ Data Visualization
การทำ Data Visualization เป็นศาสตร์ที่อยู่กึ่งกลางระหว่าง วิทย์-ศิลป์ เนื่องจากต้องใช้ตัวเลขในการบ่งชี้การเปลี่ยนแปลงต่างๆ แต่ลักษณะของการนำเสนอ จะเป็นการเขียนกราฟ หรือสร้างตาราง ที่จำเป็นต้องใช้ศาสตร์ด้านศิลป์ ดังนั้น ถึงแม้ว่านักพัฒนา Data Visualization จะพัฒนาช่องทางในการแสดงผลลัพธ์ที่สวยงามมากเพียงใด แต่สุดท้ายแล้วผู้อ่านผลลัพธ์ไม่สามารถเข้าถึงในสิ่งที่ต้องการนำเสนอได้ ผลลัพธ์ที่ได้ ก็จะไม่สามารถสร้างประโยชน์ได้สูงสุดดังที่ต้องการ
เรื่องนี้เป็นเรื่องที่แก้ยากมาก ก่อนอื่น ย้อนกลับไปที่โพสก่อนหน้านี้ ในหัวข้อเรื่อง “โปรแกรม BI เหมาะกับใคร” ซึ่งในหัวข้อนั้น ได้ชี้แจงแล้วว่า คนที่ต้องใช้ BI ประกอบไปด้วย นักวิเคราะห์ กับ ผู้ใช้งาน ซึ่งทั้ง 2 หน้าที่นี้ จำเป็นจะต้องเข้าใจลักษณะการใช้งานของโปรแกรม BI
กรณีศึกษา การใช้งาน Smart Phone ซึ่งแบ่งออกเป็น นักพัฒนา และผู้ใช้งาน ถามว่าผู้ใช้งานจำเป็นต้องพัฒนาโปรแกรมเป็นหรือไม่ ก็คงไม่ แต่ผู้ใช้งานเอง ก็จำเป็นต้องเรียนรู้วิธีการใช้งาน เพื่อจะเข้าใจฟังก์ชั่นที่ถูกต้อง
เช่นเดียวกัน ต่อให้นักวิเคราะห์นำเสนอกราฟที่สวยงามมากเพียงใด แต่ผู้ใช้งานไม่เข้าใจความหมายของกราฟนั้น หรือไม่สามารถกด Filter เพื่อเลือกดูรายละเอียดได้เป็น สุดท้ายแล้วโปรแกรมนี้ ก็จะไม่มีประโยชน์อันใด
การใช้โปรแกรม BI ถือเป็นขั้นต้นของการดำเนินโครงการในเชิง Data Driven Business ซึ่งปัญหาส่วนใหญ่ เกิดจากความ “ไม่เข้าใจ” และต้องแก้ด้วย “การทำความเข้าใจ” ไปด้วยกันค่ะ
แนะนำบริการ
Coraline BI Integration เป็นบริการออกแบบโครงการที่ควรใช้ BI ตั้งแต่เข้าไปประเมินความพร้อมของโครงการ ประเมินคุณภาพของข้อมูล เชื่อมโยงข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่างๆ ออกแบบแหล่งเก็บข้อมูลทั้งแบบ Cloud และ On Premise สร้าง Data Model ประเภทต่างๆ เพื่อให้ระบบประมวลผลได้เร็วขึ้น ก่อนที่จะนำเสนอผลลัพธ์ในรูปแบบ Data Visualization ที่สวยงาม และ User Friendly ในโปรแกรม BI พร้อมช่วยเลือกโปรแกรม BI ที่เหมาะสม และประหยัดค่าใช้จ่ายได้มากที่สุด
สนใจรายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อได้ที่ inquiry@coraline.co.th
Comentários