top of page

5 สิ่งที่จะได้จากการทำ Data Governance

หลายคนคิดว่าโครงการ Data Governance เป็นการเขียนนโยบาย ส่งมอบเป็น Paper ที่จับต้องได้ยาก ความจริงแล้ว ผลลัพธ์จาก Data Governance เป็นอะไรที่จับต้องได้ และไม่ได้มีแค่ Paper เพราะมันคือการวางกระบวนการ และนำชุดข้อมูลต่าง ๆ ในองค์กร มากำกับดูแลตามมาตรฐานที่วางเอาไว้ ดังนั้นทุกองค์กรที่มีการเก็บข้อมูล และต้องใช้ข้อมูลข้ามฝ่ายจำเป็นต้องมีการทำ Data Governance 


ซึ่งสิ่งที่จะได้รับจากการทำโครงการ Data Governance ได้แก่


  1. นโยบาย ที่ประกาศใช้กับทุกคนในองค์กร ไม่ว่าจะเป็นคนสร้างข้อมูล คนเก็บข้อมูล เจ้าของข้อมูล และผู้ใช้งานข้อมูลก็จะดำเนินการตามนโยบายนี้

  2. มาตรฐาน และกระบวนการ ที่ทุกชุดข้อมูลต้องทำตาม เช่น มาตรฐานการเก็บที่อยู่ มาตรฐานคุณภาพข้อมูล เพื่อให้ผู้ใช้ข้อมูลมั่นใจว่าข้อมูลได้ถูกตรวจสอบ และมีความพร้อมใช้

  3. มีการกำหนดหน้าที่ของผู้เกี่ยวข้องกับข้อมูลอย่างชัดเจน ใครเป็นเจ้าของข้อมูล ใครมีสิทธิ์ใช้ได้บ้าง ตัวอย่างเช่น ลูกค้ากรอกข้อมูลขอสินเชื่อที่สาขา ฝ่ายสาขากรอกข้อมูลเข้าระบบ IT ดูแลระบบ สินเชื่อเป็นเจ้าของข้อมูล เมื่อกลยุทธ์มาขอใช้แล้วพบว่าข้อมูลระดับการศึกษาไม่ครบถ้วน ถามว่าใครผิด คำตอบคือ สินเชื่อ เพราะเขาเป็นเจ้าของข้อมูล เขาต้องออกแบบกระบวนการที่ทำให้ข้อมูลครบถ้วนให้มากที่สุด นอกจากนี้ยังมีการกำหนด Committee หรือ กลุ่มคณะผู้บริหาร ทำหน้าที่เป็นคณะกรรมการธรรมาภิบาลข้อมูล เพื่อให้ความช่วยเหลือ และผลักดันโครงการอีกด้วย ดังนั้นหากมีประเด็นข้อมูลไม่เรียบร้อย ก็จะสามารถนำเข้ามาหารือที่ Committee ได้

  4. มี Data Library ที่เปรียบเสมือนสารบัญทำให้ทราบได้ว่าภายในองค์กรมีข้อมูลอยู่ที่ไหน ใครเป็นเจ้าของ และหากมีการทำ Data Catalog จะมีรายละเอียดที่มากขึ้น เช่น มีการจัดทำ Metadata มีการทำ Data Classification 

  5. มีการตรวจสอบความมั่นคงปลอยภัยของข้อมูลอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้เป็นไปตามนโยบาย


คำถามที่ว่า ทำ Data Governance แล้วจะมี Return of Investment หรือไม่? คำตอบคือ Data Governance ไม่ได้ทำเพื่อเพิ่มกำไรให้บริษัท แต่เป็นการดูแลทรัพยากร “ข้อมูล” ซึ่งถือเป็น Intangible Asset หรือ ทรัพย์สินไม่มีตัวตนอย่างหนึ่งขององค์กร และถ้าองค์กรเห็นคุณค่าของข้อมูล ก็จะสามารถต่อยอดไปเป็น Data Monetization ต่อได้ แต่ถ้าไม่มี Data Governance ก็จะไม่เกิด Data-Driven Business ภายในองค์กร เพราะแค่การวางนโยบายในการกำกับดูแลข้อมูลให้พร้อมใช้ยังไม่มี แล้วจะแน่ใจได้อย่างไรว่าข้อมูลนั้นสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างแท้จริง



Comments


< Previous
Next >
bottom of page