เหตุผลที่หลายคนกลัว AI
top of page

เหตุผลที่หลายคนกลัว AI


The reason why many people fear AI

ก่อนหน้านี้ เราเคยได้ยินว่า Mark Zuckerberg (CEO ของ Facebook) ทะเลาะกับ Elon Musk (CEO ของ Tesla และ SpaceX) ในความเห็นที่แตกต่างกันเรื่อง AI

Mark Zuckerberg มองว่า AI เป็นสิ่งที่เราต้องให้การสนับสนุน และ AI นี้ จะนำพามาซึ่งการเปลี่ยนแปลง และสามารถสร้างโอกาส รวมถึงสร้างงานใหม่ๆ ให้โลกใบนี้

ในขณะที่ Elon Musk มองว่า AI นั้นน่ากลัวกว่าที่คิด เราควรมีกฎเกณฑ์ หรือการป้องกันอะไรบางอย่างเพื่อไม่ให้ AI สร้างปัญหาให้เราในอนาคต

ถามว่า ฝ่ายไหนถูก ฝ่ายไหนผิด? ต้องบอกว่า ทั้งสองคน กำลังแสดงความเห็นในมุมที่แตกต่างกัน

ที่ Mark บอกว่า AI เป็นสิ่งใหม่ที่สร้างโอกาส ก็เป็นสิ่งที่ถูกต้อง เพราะ AI เป็นเทคโนโลยีของโลกยุคใหม่ มีที่มาจากการเลียนแบบกระบวนการคิดของมนุษย์ เพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์เอง ในขณะที่ Elon Musk บอกว่า ควรมีการควบคุม AI ด้วยก็ถูกเช่นกัน เพราะเป็นกระบวนการประมวลผล และตัดสินใจอย่างอัตโนมัติ และมีการกระทำออกมาอย่างทันที โดยที่มนุษย์เองไม่ได้ตรวจสอบ (เพราะมนุษย์ได้ตรวจสอบไปแล้ว และยอมรับประสิทธิภาพของ AI ไปแล้ว)

นอกจากนี้ยังมีบทความอีกมากมายที่อ้างว่า AI กำลังแย่งงานเรา? ก็อาจจะจริงในบางส่วน เมื่อการตัดสินใจบางอย่างที่ต้องใช้มนุษย์ ถูกแทนที่ด้วย AI มนุษย์คนนั้นก็จะถูกแย่งงานทันที แต่ในทางกลับกัน ก็อาจจะมีงานใหม่ๆ เกิดขึ้น เพราะ AI ด้วยเช่นกัน เป็นวัฎจักรของโลกใบนี้ ที่มนุษย์ต้องมีการปรับตัวอยู่ตลอดเวลา

ทำไมต้องใช้ AI เพราะ AI เป็นกลไกทางคอมพิวเตอร์ ที่สามารถประมวลผลได้ลึกกว่า และเร็วกว่ามนุษย์

 

สรุปแล้วแนวโน้มของ AI เป็นอย่างไรกันแน่?

ต้องบอกว่า แนวโน้มของ AI เป็นแนวโน้มที่มาแรง และน่ากลัวอย่างมาก ในปี 2020 ที่จะถึงนี้ ประเทศจีนจะมีการใช้ Social Credit Scoring อย่างเป็นทางการ ศึกเป็น AI ประเภท Image Processing โดยใช้ Face Recognition (การใช้หน้าเป็นการแสดงอัตลักษณ์ เพื่อยืนยันตน) หมายความว่า ทุกคนในประเทศจีนจะถูกเก็บข้อมูลเอาไว้ ไม่ว่าจะเป็นการเดินทาง หรือการทำธุรกรรมใดๆ

แต่ทั้งนี้ การที่กระแสนั้นกำลังจะมา บุคคลที่เกี่ยวข้องกับ AI ก็ต้องมีความเข้าใจ และยอมรับในตัว AI นั้นๆ ด้วย เช่น การที่ Mark Zuckerberg ใช้ AI เพื่อช่วยแนะนำการ Tag รูปใน Facebook สุดท้ายแล้ว คนที่จะต้องกดยอมรับหรือไม่ ก็ยังต้องเป็นเจ้าของ Account อยู่ดี ตรงนี้เอง ที่ Elon Musk เตือนเอาไว้ ตรงที่ว่า อย่าให้ AI ทำอะไรโดยพลการ การจะใช้ AI ทำอะไร อาจต้องมีการตรวจสอบ และมีการอธิบายที่ชัดเจน

เราควรกลัว AI หรือไม่ ต้องตอบว่า “ควร” เพราะ AI เป็นเรื่องใกล้ตัวมาก ทุกวันนี้เราใช้งาน AI กันโดยที่ไม่รู้ตัวอยู่ทุกวัน เช่น การส่งคำสั่งทางเสียง หรือแม้แต่การพิมพ์ข้อความต่างๆ ใน Platform เช่น Line ก็จะมีการเก็บรายละเอียดการพิมพ์ เพื่อนำไปเรียนรู้พฤติกรรมการพิมพ์ของมนุษย์ในกรณีที่เกิดภาษาใหม่ๆ

เหตุผลที่ต้องเข้าใจกลไกของ AI เพราะความเป็นจริงแล้ว เราทุกคน คือ คนสร้างวัตถุดิบของ AI ดังนั้น AI จะดีหรือไม่ดี ไม่ได้ขึ้นอยู่กับ Algorithm เพียงอย่างเดียว แต่ขึ้นอยู่กับ Data ที่ป้อนเข้าไปด้วย

อีกกรณีหนึ่ง คือ การโดนแย่งงาน ต้องเข้าใจก่อนว่า AI จะฉลาดได้ ต้องมีการเรียนรู้ที่ซ้ำๆ ดังนั้นงานที่เกิดซ้ำๆ คืองานที่อันตราย และง่ายต่อการโดนแทนที่ด้วย AI แต่งานที่กำลังจะเกิดขึ้นบนโลกนี้ คือ งานการใช้งาน AI เพราะฉะนั้น หากกลัวที่จะโดน AI แย่งงาน ก็จงเปลี่ยนเป็นทำความเข้าใจ AI เพื่อที่จะควบคุมการทำงานของมันได้ (ไม่ถึงขั้นต้องไปเรียนพัฒนา AI เพราะนั่นเป็นงานของ Developer)

หากลองสังเกตในบ้านเรา (ประเทศไทย) พบว่า มีหลายโครงการ ทั้งในส่วนของภาครัฐ และเอกชน มากมายที่อ้างว่าใช้ AI เป็นส่วนประมวลผลของโครงการ ซึ่งเมื่อวิเคราะห์ดูลึกๆ ก็พบว่า บางโครงการไม่น่าจะเป็นเรื่องของ AI เพราะ AI เป็นการประมวลผลที่ต้องมีกลไก และมี Data แต่หากไม่มีทั้งกลไก และไม่มี Data มาก่อน ก็จะไม่สามารถสร้าง AI ได้ จึงทำให้คำว่า AI ในบ้านเรา กลายเป็น Buzzword ไปเสียแล้ว

และนี่คือสิ่งที่น่ากลัว แปลอีกความหมายหนึ่งคือ เรากำลังเข้าใจ AI เพียงแค่มันเขียนว่า เอไอ โดยที่ไม่เข้าใจว่าสรุปแล้ว AI ทำงานอย่างไร ทำเพื่ออะไร และมีขั้นตอนในการทำงานอย่างไร หากเป็นเช่นนั้นจริงๆ จุดอ่อน และช่องโหว่นี้ จะเปิดโอกาสให้คนภายนอก หรือคนที่เล่มเกมเป็น เข้ามาเปิดโอกาสตรงนี้ได้ และกลายเป็นว่า คนที่ไม่รู้ ก็จะโดน Disrupt ด้วยคนที่รู้มากกว่า

ดังนั้นควรเปลี่ยนความกลัวเป็นการยอมรับ ยอมรับว่า “ไม่รู้” และเปลี่ยนความ“ไม่รู้”นั้นเป็น “โอกาส”ที่จะได้เรียนรู้

สุดท้ายแล้ว เมื่อเรา“รู้”เราก็จะไม่“กลัว”และ“พร้อม”ที่จะรับมือกับกระแสต่างๆ ได้อย่างมีสติ

กลไกของ AI ไม่ยากที่จะทำความเข้าใจ มันคือการนำ Data ไปเรียนรู้ และนำ Model ที่ได้จากการเรียนรู้ไปสร้างเป็นระบบใช้งาน แต่สิ่งที่ยาก คือ การตีโจทย์ ว่าโจทย์ไหนต้องใช้ AI โจทย์ไหนไม่เกี่ยวกับ AI ซึ่งหน้าที่ของการตีโจทย์นั้น คือ ผู้บริหาร หรือเจ้าของโครงการนั้นๆ

ดังนั้นคนที่มีความเสี่ยงและต้อง“กลัว”มากที่สุด ก็คือ“ผู้บริหาร”ที่ยัง“ไม่รู้”นั่นเอง


 

References : CNBC, NYTimes, USAToday

แท็ก:

< Previous
Next >
bottom of page