เมื่อ 3 วันก่อน มีการประกาศฟรีค่าธรรมเนียมการโอนเงิน
และจ่ายบิลสินค้าจากธนาคารไทยพานิช
และวันต่อมาก็ประกาศเช่นเดียวกันจากธนาคารกสิกรไทย
และล่าสุดกับธนาคารกรุงไทย ซึ่งถือว่าข่าวนี้เป็นข่าวกระทบวงการธนาคารอย่างมาก
เพราะค่าธรรมเนียมพวกนี้ ถือเป็นรายได้จำนวนมหาศาลของธนาคาร
ทำไมธนาคารถึงกล้าที่จะยอมลดรายได้ของตัวเองลง?
นั้นเพราะการแข่งขันเรื่อง Digital Banking ที่นอกจากต่างธนาคารต้องแข่งกันแล้ว
ยังมีบริษัทอื่นๆ มาแข่งกันทำ E-Wallet กันอีก แน่นอนละว่าธนาคารเขาก็รู้สึกระส่ำระสายมานานมากแล้วแต่รอจังหวะให้ทุกอย่างลงตัวเสียก่อนค่อยเปิดเกมรุก
การที่ธนาคารยอมลดรายได้จากค่าธรรมเนียมลงจะมีผลดีคือสามารถจูงใจให้ผู้ใช้บริการมาใช้ Platform ของตัวเองได้มากขึ้นตามมาด้วยข้อมูล Transaction ที่จะเกิดขึ้นมากมายหลังบ้าน ทำให้เขามี Big Dataมากพอที่จะเล่นได้และนำไปวิเคราะห์ตัวตนของลูกค้าจนสามารถสร้างเป็นบริการหรือสินค้าใหม่ให้ลูกค้าได้ต่อไป
ถ้ามองมุม Data แล้ว ก่อนหน้านี้เวลาใช้ Cash เงินใช้เงินไปกับตรงไหนบ้างแม้ตัวเราเองก็จำไม่ได้ แต่เมื่อเข้าระบบทั้งหมด จะโอนให้ใครเมื่อไหร่เท่าไหร่จ่ายค่าอะไรเดือนไหนยังไง ความถี่การใช้จ่ายต่างๆจะถูกบันทึกเอาไว้ตราบนานเท่านาน
นี้คือเหตุผลที่ทำไมต้องรอจนถึงวันนี้ เพราะนอกจากเทคโนโลยีต่างๆ
มันพร้อมมากขึ้นแล้ว ยังมีลูกเล่นใหม่ๆ จาก Data Science และ Machine Learning
เข้ามาเป็น Solution ใหม่ๆ ให้ธนาคาร
มองอีกมุมหนึ่ง เมื่อคนใช้ Cash หรือเงินสด กันน้อยลงก็ทำให้ธนาคารไม่ต้องคอยบริหารจัดการเงินในตู้ ATM หรือเงินที่สาขาเพราะในแต่ละวันมีเงินสดกองอยู่ในระบบต่างๆ หลายหมื่นล้านบาทต่อวันถ้าคิดเป็นค่าเสียโอกาสก็มาอยู่แล้ว ยังมีจัดการต่างๆ อีกด้วยไม่ว่าจะเป็นการขนส่งเงินสดในตู้หรือสาขา การซ่อมบำรุง ค่าติดตั้ง/รื้อถอน ค่าไฟค่าเช่าที่ และอื่นๆ อีกมากมาย
ในช่วงแรก ธนาคารอาจจะสูญเสียรายได้ระดับหนึ่งและอาจจะต้องมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินการรื้อระบบเงินสดด้วยอีกแต่ในระยะยาวเชื่อว่าธนาคารเองจะปรับตัว และสามารถหา Solutionใหม่ออกมาเป็นบริการหรือสินค้าทางการเงินได้ไม่ยาก
ทั้งหมดนี้ ไม่ใช่แค่ Disruption ที่เกิดจากภายนอก แต่เป็น Disruptionภายในองค์กรด้วย การที่ธนาคารประกาศผลักดันธุรกรรม Online ขนาดนี้แน่นอนว่าต้องมีบางฝ่ายในองค์กรเสียประโยชน์เพราะด้วยโครงสร้างของธนาคารที่มีแผนผังละเอียดยิบ แบ่งแผนก แบ่งฝ่ายมีผู้บริหารแยกคนกันคุมดังนั้นการจะทำโปรเจคที่กระทบหลายฝ่ายจึงต้องใช้เวลานานในการตกลงและวางแผน แต่ถ้าไม่ทำ ธนาคารทั้งธนาคารโดน Disrupt จากภายนอกไปด้วย ดังนั้น TopManagement จึงต้องตัดสินใจเดินต่ออย่างชัดเจน
เกมนี้ใครจะชนะ ก็คงตอบยาก แต่ถ้ามองว่าเกมนี้ใครเดินเกมเร็วที่สุด
ก็คงต้องย้อนไปที่ TMB ก่อน ที่ชิงฟรีค่าธรรมเนียม ATM มานานสักระยะหนึ่งแล้ว
เพียงแต่ TMB นั้นเน้นที่ Lean ฝั่ง Operation หลังบ้าน และยังอ่อนเรื่อง Application
หน้าบ้าน ทำให้อาจจะไม่ทันเกมเรื่อง Mobile/Internet Banking ส่วน SCB
นั้นก็ชิงเปิดเกมก่อน KBank 1 วัน แถมยังมีฟีเจอร์กด ATM ไม่ใช่บัตรด้วยอีก (KBank ไม่มี) ถือว่าให้ +2 แต้ม แต่ดูเหมือนว่า ตัวเลขผู้ใช้บริการ Digital Banking ของ KBank จะสูงกว่าของ SCB อยู่เล็กน้อย ด้านน้องใหม่ KTBที่มีฐานเป็นกลุ่มราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจทำให้เขามีฐานลูกค้ากลุ่มใหญ่อยู่ในมือ จะเดินเกมต่อก็คงไม่ยาก
ทั้งหมดทั้งปวงนี้ “เรา” ผู้ซึ่งเป็นผู้บริโภคก็ Happy กันไปค่ะ แต่ก็อย่างที่ Coraline ได้นำเสนอตลอดมา ว่าเราไม่สามารถหลีกหนีจาก Technology Disruption ได้เพราะโลกก็ต้องหมุนไปตามวัฏจักร สิ่งที่เราทำได้ดีที่สุด คือ เรียนรู้ และยอมรับการเปลี่ยนแปลง เพราะถ้าเราไม่ยอมเปลี่ยนแปลงไปกับมัน เราอาจจะโดน Disrupt ไปกับเขาด้วย
“It is not the strongest of the species that survives, nor the most intelligent that survives.
It is the one that is most adaptable to change.”
ไม่ใช่สิ่งมีชีวิตที่แข็งแรงที่สุด หรือฉลาดที่สุดหรอกที่จะเอาตัวรอดได้ดีที่สุด
แต่เป็นสิ่งมีชีวิตที่สามารถปรับตัวได้เก่งที่สุดต่างหาก
- Charles Darwin-