top of page

ความสำคัญของ Cyber Security

ในยุคปัจจุบัน ข้อมูลมีความสำคัญต่อธุรกิจ องค์กร และการใช้งาน เทคโนโลยีและอินเทอร์เน็ตมีความเจริญเติบโตเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งนำไปสู่ความเสี่ยงต่อการถูกโจมตี ทำให้ความปลอดภัยทาง cyber security จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง โดยเปรียบเสมือนเกราะป้องกันข้อมูลให้กับ ธุรกิจ องค์กรต่างๆ

 

เหตุผลหลักที่ทำให้ Cyber Security มีความสำคัญ


  • ปกป้องข้อมูล  ข้อมูลถือเป็นทรัพย์สินที่มีมูลค่าและมีความสำคัญสำหรับธุรกิจ องค์กร และบุคคลการรั่วไหลของข้อมูล สูญหาย หรือถูกโจมตี อาจสร้างความเสียหายอย่างมหาศาล ทั้งด้านการเงิน ชื่อเสียง และความน่าเชื่อถือ

  • รักษาความปลอดภัยของระบบ ระบบต่าง ๆ เช่น website application ล้วนเป็นเป้าหมายของการถูกโจมตี ซึ่งการโจมตีระบบอาจทำให้ระบบหยุดทำงาน บริการล่ม หรือข้อมูลสูญหาย

  • ป้องกันภัยคุกคาม  ภัยคุกคามทางไซเบอร์มีหลากหลายรูปแบบ เช่น มัลแวร์ Phishing Ransomware Spam Social Engineering ล้วนสามารถสร้างความเสียหายได้ Cyber Security จะช่วยป้องกันภัยคุกคามเหล่านี้ และลดความเสี่ยงต่อองค์กร

  • เสริมสร้างความมั่นใจให้องค์กร องค์กรที่มี Cyber Security ที่ดี จะสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้า พนักงาน และผู้มีส่วนได้เสีย ว่าข้อมูลและระบบของพวกเขามีความปลอดภัยอยู่ตลอดเวลา

  • ปฏิบัติตามกฎหมาย  กฎหมายหลายฉบับในปัจจุบัน กำหนดให้ธุรกิจ องค์กร และบุคคล ต้องมีมาตรการป้องกันข้อมูลและระบบ การละเลย Cyber Security อาจส่งผลต่อบทลงโทษทางกฎหมาย


ถ้าจะเริ่มทำความเข้าใจเกี่ยวกับ Cyber Security สามารถเริ่มจากการทำความรู้จักกับ OWASP ที่ย่อมาจาก Open Web Application Security Project เสียก่อน โดย OWASP เป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรที่มุ่งเน้นไปที่การปรับปรุงความปลอดภัยของ Web Application ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2544  มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่รัฐแมริแลนด์  ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยมีบทบาทสำคัญในการสร้างมาตรฐาน แหล่งข้อมูล และเครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนาและประเมินความปลอดภัยของ Web Application


วัตถุประสงค์หลักของ OWASP

  • มุ่งเน้นไปที่การให้ความรู้แก่สาธารณชนเกี่ยวกับความเสี่ยงและภัยคุกคามที่เกี่ยวข้องกับ Web Application ผ่านการจัดทำเอกสาร บทความ เครื่องมือ และการฝึกอบรม

  • พัฒนามาตรฐาน กำหนดมาตรฐานและแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดสำหรับการพัฒนา การทดสอบ และการรักษาความปลอดภัยของ Web Application ตัวอย่างที่สำคัญคือ OWASP Top 10 ซึ่งเป็นรายการ 10 ความเสี่ยงด้านความปลอดภัย Web Application ที่พบบ่อยที่สุด https://owasp.org/Top10/

  • ส่งเสริมการวิจัย สนับสนุนการวิจัยเกี่ยวกับความปลอดภัยของ Web Application ผ่านการจัดทำทุนสนับสนุน การจัดประชุม และการเผยแพร่ผลงานวิจัย

  • สนับสนุนชุมชน มีชุมชนผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัย Web Application ที่เข้มแข็ง ซึ่งแบ่งปันความรู้ ประสบการณ์ และเครื่องมือต่างๆ

  

ตัวอย่างโครงการ OWASP ZAP (Zed Attack Proxy) คือเครื่องมือโอเพ่นซอร์สที่ใช้ในการทดสอบความปลอดภัยของ Web Application โดยพัฒนาและดูแลโดย OWASP (Open Web Application Security Project) ZAP เป็นหนึ่งในเครื่องมือที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในวงการความปลอดภัยไซเบอร์ เนื่องจากใช้งานง่ายและมีความสามารถหลากหลาย การทำงานของ ZAP โดยการดักจับการรับส่งข้อมูล HTTP ระหว่างเบราว์เซอร์ของคุณกับ Web Application ZAP วิเคราะห์การรับส่งข้อมูลนี้ และค้นหาช่องโหว่ด้านความปลอดภัยที่อาจเกิดขึ้น เช่น SQL-Injection หรือ Cross-Site Scripting (XSS) เป็นต้น 

 

ข้อดีของ OWASP ZAP

  • ไม่มีค่าใช้จ่ายและสามารถปรับแต่งได้ตามต้องการ

  • User Interface ที่ใช้งานง่ายกับผู้ใช้และมี community ขนาดใหญ่ ไว้รองรับการตอบปัญหา

  • สามารถใช้ได้กับหลายแพลตฟอร์มและหลายภาษาโปรแกรมมิ่ง

  

ข้อเสียของ OWASP ZAP

  • การทดสอบที่อาจมีความเสี่ยง ด้วย Feature การสแกนและทดสอบเชิงรุก (Active Scanner) อาจทำให้ระบบที่ทดสอบอยู่เกิดความเสียหายหรือมีผลกระทบต่อการทำงาน ดังนั้นควรใช้ความระมัดระวังโดยเฉพาะใน environment ของการ scan

  • การจัดการกับผลลัพธ์ที่ซับซ้อน การวิเคราะห์ผลลัพธ์จากการสแกนอาจต้องใช้ความรู้และประสบการณ์ในการแยกแยะระหว่าง false positives หรือ false negatives

  • ขาดการสนับสนุนทางเทคนิค เนื่องจากเป็นเครื่องมือโอเพ่นซอร์ส การสนับสนุนทางเทคนิคอาจจะต้องใช้บริการ community  แทนที่จะเป็นการสนับสนุนจากทีมงานที่มีการรับประกันคุณภาพ

 

โดยสรุปแล้ว เมื่อในองค์กรมีการติดตั้งระบบ IT โดยเฉพาะ เมื่อมีการพัฒนา Application ก็ต้องให้ความสำคัญกับ Cyber Security ควบคู่กันด้วย เพราะมันไม่คุ้มเลยที่การละเลยด้านความปลอดภัยจะทำให้ระบบข้อมูลขององค์กรมีปัญหาในตอนท้ายที่สุด





Comentarios


< Previous
Next >
bottom of page