AI คืออะไรกันแน่??
top of page

AI คืออะไรกันแน่??


AI กลายเป็นเทคโนโลยีที่เราได้ยินชื่อกันบ่อย ไม่ว่าจะเป็น AI ใช้ประมวลผล AI ใช้วิเคราะห์อัตลักษณ์ AI ใช้แปลภาษา และหุ่นยนต์ แล้วตกลง AI คือ อะไรกันแน่???

AI ย่อมาจาก Artificial Intelligence ภาษาไทย คือ ปัญญาประดิษฐ์

ถ้าจะสื่อสารกันให้ถูกต้อง AI คือ ระบบประมวลผล ที่มีการวิเคราะห์เชิงลึก คล้ายความฉลาดของมนุษย์ และสามารถก่อให้เกิดผลลัพธ์ที่เป็นการกระทำได้ เช่น การแปลภาษา เกิดจากการประมวลผลจากข้อความรับเข้า แล้วแปลงออกมาเป็นอีกภาษาหนึ่ง เป็นต้น

การเรียนรู้ของ AI ไม่ต่างจากการเรียนรู้ของมนุษย์ นั้นคือ “จำ” แล้ว “คิด” ตาม เช่น เด็กที่เห็นหน้าพ่อแม่ซ้ำๆ ทุกวัน และป้อนเสียงเรียก “พ่อ” “แม่” ไปให้เด็ก นานๆ เข้า เด็กคนนั้นก็จะสามารถมองหน้าแล้วเรียก “พ่อ” “แม่” ออกมาได้โดยอัตโนมัติ

สิ่งเร้าที่ใช้เทรน หรือ ฝึก AI ก็คือ “ข้อมูล” ซึ่งในกรณีสอนเด็กให้เรียก “พ่อแม่” ก็ต้องฝึกกันอยู่นาน หลายครั้ง ไม่ต่างกันกับ AI ที่ต้องใช้เวลาเทรน และต้องใช้ข้อมูลที่มีลักษณะซ้ำๆ เหมือนกัน

AI จึงสามารถทำงานได้หลากหลาย ขึ้นอยู่กับการเทรน และลักษณะของสิ่งเร้าที่ใช้เทรน ดังนั้น เราจึงได้รับข่าวสารเกี่ยวกับการใช้ AI ที่หลากหลาย นั้นเพราะในการสื่อสาร เป็นการสื่อสารแบบ Snapshot หรือ พูดถึง AI เพียงด้านใดด้านหนึ่ง

กลไกการทำงานของ AI คือ ระบบประมวลผลทางคอมพิวเตอร์ และมี Machine Learning เป็นส่วนประกอบ ซึ่งเจ้า Machine Learning นี้ ก็มี Algorithm ที่หลากหลาย ขึ้นอยู่กับโจทย์ และข้อมูลที่ใช้เทรน เช่น Deep-Learning เป็น Algorithm ที่เหมาะกับข้อมูลซับซ้อนขนาดใหญ่ Random Forests เป็น Algorithm ที่ใช้สำหรับโจทย์ Supervised เป็นต้น

ข้อมูลที่ใช้เทรน AI เป็นข้อมูลในอดีต ที่มีลักษณะการทำงานแบบซ้ำๆ ซึ่งเมื่อเวลาผ่านไป เป็นไปได้ว่าพฤติกรรมอะไรหลายๆ อย่างก็จะเปลี่ยนแปลงไปด้วย ดังนั้น AI ที่มี จะต้องสามารถเก็บข้อมูลใหม่ เพื่อนำไปเทรนให้ AI ฉลาดขึ้นได้

การจะใช้ AI จึงต้อง “วิเคราะห์” และ “เลือก” ให้ถูกกับจุดประสงค์ของการใช้งาน และยังต้องคำนึงถึง “ข้อมูล” ที่ใช้เทรน และ บำรุงรักษา AI อีกด้วย

AI คืออะไรกันแน่ ตอบให้ชัดๆ ค่ะ คือ ระบบประมวลผล ที่สามารถส่งผลออกมาเป็นการกระทำได้ และ AI จะฉลาดได้ขึ้นอยู่กับข้อมูลที่ใช้เทรน และกลไกที่มีประสิทธิภาพ

ดังนั้น โครงการไหนต้องการ AI ที่ฉลาด ก็ต้องย้อนกลับมาคิดด้วยว่า แล้วเราเข้าใจกลไกการทำงานของ AI แล้วหรอยัง?

บทความแนะนำ


< Previous
Next >
bottom of page