เมื่อ “พนักงาน” โดน Disrupt
ไม่ใช่แค่ “องค์กร” หรือ ”บริษัท” ต่างๆ ที่โดนคู่แข่ง Distrupt เพราะในยุคนี้ แม้แต่ “พนักงาน” ก็โดน Disrupt ด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะ องค์กรใหญ่ๆ ย้อนกลับไปสู่ยุค Babyboomer ที่อาชีพรับราชการ ดูเหมือนจะเป็นอาชีพที่ทุกคนใฝ่หา เนื่องด้วยสวัสดิ์การที่ดี อาชีพที่มั่นคง และมีงานที่หลากมาย ต่อมาเข้าสู่ยุค Gen X ที่หลายคนมอาจองว่า การทำงานกับเอกชนนั้นมีผลประโชยน์ที่ดีกว่า ไม่ว่าจะเรื่องรายได้ และความก้าวหน้าในการทำงาน โดยเฉพาะองค์กรใหญ่ๆ รัฐวิสาหกิจ หรือบริษัทต่างชาติ ปัจจุบัน พบว่า Gen Y หลายคนมีมุมมองที่แตกต่างออกไป และเริ่มเข้าสู่ลักษณะการทำงานแบบ Starup กันมากขึ้น สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องแปลก เพราะกาลเวลาที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้ลักษณะงาน และความต้องการของตลาดแรงงานก็เปลี่ยนแปลงไปด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ ทุกอย่างไม่มีถูก ไม่มีผิด อยู่ที่แต่ละคนจะมีเป้าหมายด้านการทำงานอย่างไร อย่างไรก็ตาม เมื่อเข้าสู่การทำงานในยุค Digital อย่างเต็มตัวแล้วนั้น ทุกอาชีพ ต่างมีความไม่แน่นอนทั้งสิ้น นั้นจึงเป็นสาเหตุที่ทำให้คนยุค Gen X ปลายๆ หรือ Gen Y กล้าที่จะเสี่ยงกับการทำงานในบริษัทเล็กๆ หรือ Startup มากขึ้น ตัวอย่างเช่น ก่อนหน้านี้ มีข่าวการปิดสาขาของธนาคารเป็นอย่างมาก และมีการประกาศ Freeze จำนวนพนักงาน ไม่ใช่แค่นั้น บริษัทค้าปลีก รวมไปถึงบริษัทอุตสาหกรรมการผลิตต่างก็พากันประกาศเลิกจ้างพนักงานเป็นจำนวนมาก ทั้งๆ นี้บริษัทเหล่านี้ ถือเป็นบริษัทที่มีกำลังในการจ้างงาน และมีความมั่นคงระดับหนึ่ง เหตุการณ์เหล่านี้ ยิ่งตอกย้ำให้เห็นชัดเจน งานที่มั่นคงอาจจะไม่มั่นคงอีกต่อไป ไม่ว่าจะเป็นองค์กรไหนๆ ทำไมพนักงานถึงโดน Disrupt? หรือถูกเลิกจ้าง เหตุผลหนึ่ง ก็อาจเพราะทักษะเดิมๆ ไม่ตอบโจทย์การดำเนินธุรกิจอีกต่อไป และถูกแทนที่ด้วยแรงงานที่มีความรู้สดใหม่กว่า หรือเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่ทำให้ประหยัดต้นทุนได้มากกว่านั่นเอง จริงๆ แล้ว เรื่องทักษะของพนักงาน จะกล่าวโทษเฉพาะพนักงานอย่างเดียวก็อาจจะไม่ถูกเสมอไป ยิ่งบริษัทขนาดใหญ่ ยิ่งมีการจัดโครงการพนักงานหลายขั้น ทำให้คนแต่ละคนจะมีโอกาสเห็นภาพรวมของงานทั้งหมดได้น้อยมาก นอกจากนี้ บางองค์กรยังมีระบบการนับประสบการณ์ทำงานเพื่อการเลื่อนขั้นอีกด้วย ทำให้กว่าจะมีโอกาสได้รับงานขนาดใหญ่ หรือสามารถเป็นผู้ออกแบบโครงการได้ ต้องเก็บเกี่ยวประสบการณ์การทำงานงานเป็นเวลานาน อีกทั้ง เมื่อลักษณะการทำงานเป็นแบบ Waterfall หรือ Top-down ที่การสั่งงานจะมาจากผู้มีอำนาจ ทำให้งานทั้งหมดถูกออกแบบ และถ่ายทอดมาจากผู้ที่มีตำแหน่งสูงกว่า ส่งผลให้ผู้ปฏิบัติงาน มีหน้าที่ทำงานตามที่ได้รับคำสั่งเท่านั้น กรณีตัวอย่าง: ฝ่าย IT จะมีหน่วยงานย่อยที่ทำหน้าที่ต่างกัน เช่น ฝ่าย Infrastructure ฝ่าย Network and Security ฝ่าย Data Center ฝ่าย Test and QC ถึงแม้ว่า งานทั้งหมด เป็นโครงการเดียวกัน แต่เมื่อคนแต่ละคนมาจากต่างแผนกกัน ทำให้ไม่สามารถก้าวกายงานของคนอื่นได้ แม้ว่าจะเป็นงานที่ต่อเนื่องและเกี่ยวข้องกันโดยตรง เมื่อเป็นเช่นนั้น อาจส่งผลให้พนักงาน IT ที่มี Skill ไม่หลากหลายพอ สามารถโดน Disrupt ได้โดยง่าย เพราะหากองค์กรไหน ตัดสินใจลงทุนกับ Cloud Computing ด้วยแล้ว อาจไม่จำเป็นต้องมีฝ่าย IT ขนาดใหญ่เท่าเดิม นอกจากเรื่องของโครงสร้างบุคลากรที่เป็นอุปสรรคแล้ว ด้วยเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา นำมาซึ่งความรู้ใหม่ๆ ทำให้ความรู้เดิมๆ อาจจะใช้ไม่ได้กับโลกที่เปลี่ยนแปลงไป สังเกตได้จากการว่าจ้างตำแหน่งใหม่ๆ เกิดขึ้นอย่างมากมาย เช่น Data Scientist และ Data Engineer และดูเหมือนว่า หลายองค์กรจะให้ความสำคัญกับตำแหน่งใหม่นี้อย่างมาก อีกกรณีหนึ่งที่เกิดขึ้น คือ การ Outsource งานบางอย่างออกไปให้บริษัทอื่น เพื่อให้งานมีความคล่องตัวมากกว่านั่งเอง
เมื่อเปรียบเทียบกับลักษณะการทำงานของบริษัทเล็กๆ หรือ Startup ที่มีโครงการของพนักงานน้อยกว่า ทำให้พนักงานแต่ละคนจะได้มีโอกาสในการเห็นภาพรวมของโครงการทั้งหมด และมีโอกาสได้แสดงความคิดเห็นมากกว่า ส่งผลให้เกิดการเรียนรู้งานตลอดเวลา และเป็นการเพิ่มทักษะของพนักงานแต่ละคนไปในตัว เรื่องนี้แก้ไขได้อย่างไร? ทางแก้ ต้องแก้จากทั้งสองทาง นั้นคือ จากความต้องการของพนักงานเอง และจากความต้องการของบริษัท ในกรณีของพนักงาน ตามหลักจิตวิทยาแล้วนั้น คนทุกคนจะมี Comfort Zone ของตัวเอง เป็นภาวะที่ตัวเองรู้สึกปลอดภัย ซึ่งเมื่อใดก็ตามที่ออกนอก Comfort Zone นี้ออกไปจะรู้สึกกลัว หรือที่เรียกว่า Fear Zone และอาจเกิดอาการต่อต้าน ซึ่งหากเป็นในทางต่อต้าน คนคนนั้นจะนำตัวเองเข้าสู่ Comfort Zone เหมือนเดิม แต่หากบุคคลผู้นั้น เปลี่ยนความกลัว เป็นความกล้า จะสามารถเข้าสู่ Learning Zone ได้ต่อ จนในที่สุดก็จะสามารถเข้าใจปัญหา และหาทางออกได้ใน Growth Zone กรณีขององค์กร หากต้องการให้พนักงานแต่ละคนสามารถปรับตัวได้ทันต่อยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไป ควรจะต้องสร้างบรรยากาศการทำงานที่ทุกคนต่างยอมรับความคิดเห็น เปิดโอกาสให้แสดงออก และแน่นการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ซึ่งทุกวันนี้ มีลักษณะการทำงานแบบใหม่ เรียกว่า Agile เกิดขึ้น พนักงาน กำลังโดน Disrupt จากอะไร? คำตอบคือ จากทั้ง คน และ เครื่องจักร เพราะคนที่ทำงานได้ตอบโจทย์มากกว่า ก็มักจะเป็นที่ต้องการของธุรกิจ และเครื่องจักรเอง ที่สามารถทำงานได้เสถียรกว่า ในต้นทุนที่ต่ำกว่า ก็กำลังจะเข้ามามีบทบาทต่อทุกๆ องค์กรมากขึ้น ดังนั้น หากไม่อยากโดน Disrupt สิ่งแรกที่ต้องทำ คือ การ Disrupt ตัวเอง โดยการทำความเข้าใจสถานการณ์ ออกมาจาก Comfort Zone ของตัวเอง และปรับตัวให้เข้ากับสิ่งที่กำลังจะเปลี่ยนแปลงไป คำว่า "สายเกินไป" มันก็สามารถเกิดขึ้นได้จริง ถ้าเรามัวแต่เมินเฉยกับความรับผิดชอบของตัวเอง
ไม่ใช่แค่ “องค์กร” หรือ ”บริษัท” ต่างๆ ที่โดนคู่แข่ง Distrupt เพราะในยุคนี้ แม้แต่ “พนักงาน” ก็โดน Disrupt ด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะ...