top of page

ทำไมวงการเทคโนโลยีของไทยถึงขาด Dev

Dev เป็นคำย่อจากคำว่า Developer ซึ่งหมายถึงนักพัฒนาต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น Website, Mobile Application รวมไปถึง Artificial Intelligence นักพัฒนา ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนา Technology ใดก็ตาม จะเรียกว่า Developer ทั้งสิ้น หลายคนเข้าใจว่า Developer คือ Programmer ก็ไม่ผิด เพราะด้วยทักษะ หรือ Skill หลักแล้ว ก็คือการเขียนโปรแกรม เพียงแต่ลักษณะของการเป็น Developer จะต่างจาก Programmer ตรงที่ Developer จะเน้นสร้างโปรแกรมที่ไม่มีมาก่อน เป็นการพัฒนาขึ้นมาใหม่ จึงต้องมีทักษะเรื่องการออกแบบ และมีความคิดสร้างสรรค์ ในขณะที่ Programmer จะเน้นการทำงานตามแบบที่กำหนด หรือทำตามความต้องการของลูกค้าเสียมากกว่า ตามหลักการสร้างระบบ หรือการพัฒนา Software แล้วนั่น จะมี Cycle หรือ วัฏจักรของการทำงานดังนี้ Analysis เพื่อวิเคราะห์ปัญหา และประเมินสถานการณ์ Design เพื่อออกแบบแนวทางในการแก้ปัญหา โดยเชื่อมโยงสิ่งที่เกี่ยวข้องทั้งหมด และแก้ปัญหาให้ครอบคลุมทั้งหมด Develop หรือ Build เป็นขั้นตอนแห่งการพัฒนาระบบ หรือสร้าง Solution ที่ตอบโจทย์ ซึ่งถือว่าเป็นขั้นตอนที่ใช้เวลายาวนานที่สุด และใช้บุคลากรมากที่สุด Test เป็นการทดสอบระบบที่สร้าง หรือ ทดสอบว่า Solution ที่ได้คิดค้นมานั้น สามารถตอบโจทย์ที่ตั้งไว้ได้จริงหรือไม่ Deploy คือการนำระบบ หรือนำ Solution นั้นไปใช้งานในสถานการณ์จริง อย่างถาวร ขั้นตอนที่ใช้เวลานานที่สุด เรียกได้ว่า อาจใช้เวลามากถึง 75% ของวัฏจักรทั้งหมด คือขั้นตอนที่ 3 นั่นคือ การ Develop และเป็นขั้นตอนที่ต้องใช้บุคลากรที่เรียกว่า Developer เท่านั้น ตัวอย่างเช่น การทำ Website หรือการทำ Mobile Application ในขั้นตอน Analysis หรือ Design อาจสามารถให้ผู้ใช้งาน หรือเจ้าของโครงการเข้ามาช่วยออกแบบได้ แต่ในขณะที่ขั้นตอน Develop นั้น มีเพียง Developer เท่านั้นที่ทำได้ ในวงการเทคโนโลยี หรือแม้แต่ในวงการ Startup ในขณะนี้ กำลังเผชิญปัญหาขาด Developer อย่างมาก จนทำให้หลายๆ โครงการต้องหยุดชะงัก เหตุผลที่ในประเทศไทยขาด Dev อย่างมากประกอบไปด้วย 1. ปัญหาเรื่องภาษา การจะเป็น Developer จะต้องเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง เพราะด้วยหน้าที่ ที่ต้องพัฒนาระบบให้ตอบโจทย์อยู่เสมอ ก็จำเป็นต้องเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ๆ อยู่เสมอ จุดอ่อนของการเรียนรู้ของคนไทยส่วนหนึ่ง ก็เป็นเพราะคนไทยไม่เก่งภาษาอังกฤษ เนื่องจากการเขียนโปรแกรมต่างๆ จะใช้ภาษอังกฤษเป็นหลัก คอร์สอบรม หรือ Community ก็จะใช้ภาษาอังกฤษ ทำให้หลายคนที่ไม่เก่งภาษาอังกฤษจะค่อนข้างมีปัญหาในการเรียนรู้ 2. ปัญหาเรื่องระบบการศึกษา หลายครั้งที่พบว่า ระบบการศึกษาไม่ตอบโจทย์ เป็นเพราะรายวิชาที่สอนในระดับอุดมศึกษา มักเป็นวิชาเก่า ที่ไม่มีการ Update ทำให้ผู้เรียนไม่สามารถนำมาใช้ในการทำงานจริงได้ ที่เป็นเช่นนั้น เพราะเทคโนโลยีมีการ Update ตัวเองตลอดเวลา และอาจจะมีการ Update ที่บ่อย และเร็วเกินกว่าที่บุคลากรด้านการศึกษา จะสามารถ Update ตัวเองตามได้ทัน 3. ปัญหาเรื่องการผลักดันด้านสังคม ใครๆ ก็อยากเป็น “เจ้าของธุรกิจ” ไปเสียหมด โดยเฉพาะ Startup ที่เน้นการใช้ทักษะ Pitching และการเสนอไอเดียทางธุรกิจ ทั้งๆ ที่ความเป็นจริงแล้ว การจะเป็นเจ้าของธุรกิจ ควรเกิดจากการมองเห็นศักยภาพของตัวเอง ที่สามารถเสนอ Solution ที่ตอบโจทย์กลุ่มตลาดได้ และหากไม่มีทักษะด้านการพัฒนาระบบ แล้วจะสามารถคิด Solution ที่เป็นไปได้จริงได้อย่างไร ซึ่งใน Ecosystem ของ Startup ก็แสดงให้เห็นแล้วว่า ทักษะด้าน Business อย่างเดียวไม่พอ หากต้องการนำเสนอ Tech Startup จริงๆ ก็ควรจะต้องมีทักษะด้านการ Develop ด้วย ทั้งนี้ การจะเป็น “เจ้าของธุรกิจ” หรือจะเป็น “พนักงาน” ไม่สำคัญ สิ่งที่สำคัญอยู่ที่ว่า “งาน” หรือ “สิ่งที่ทำอยู่นั้น” คือตัวตนที่แท้จริงของแต่ละคนหรือไม่ อะไรทำแล้วรู้สึกสนุก รู้สึกมีคุณค่า นั่นสิถึงเรียกว่า “ความภูมิใจ” 4. ปัญหาเรื่องพื้นฐานองค์ความรู้ การจะเป็น Developer ได้ ไม่ใช่แค่การเขียนโปรแกรมเป็น แต่จะต้องมีความคิดสร้างสรรค์ และรู้จักคิดนอกกรอบ เพราะ Developer คือคนที่คิด Solution ใหม่ๆ พัฒนาสิ่งใหม่ๆ หรือที่เรียกว่า นวัตกรรมอยู่ตลอดเวลา จึงต้องอาศัยองค์ความรู้ในหลายๆ ด้านเป็นส่วนประกอบ และไม่ควรยึดติดอยู่ที่เครื่องมือ หรือโปรแกรมภาษาใดภาษาหนึ่ง หลายคนจึงติดปัญหาในเรื่องขององค์ความรู้ โดยเฉพาะ ด้าน Software Architecture ซึ่งเป็นวิชาสำหรับคณะ Computer Science 5. ปัญหาเรื่องการผลักดันของภาครัฐ และตลาดแรงงาน ปัจจุบันนี้ จะเห็นได้ว่า คอร์สอบรม หรือประกาศในตลาดแรงงาน จะเน้นหาทักษะด้าน Analytics เป็นหลัก ตามกระแสของต่างประเทศ ทั้งๆ ที่ความเป็นจริงแล้ว Analytics คือ ขั้นตอนของการ Design (ขั้นที่ 2 ของวัฏจักรการออกแบบ Solution) ที่เป็นเช่นนั้น เพราะในต่างประเทศ มีปริมาณของ Developer มากกว่า ไม่ว่าจะเป็น ประเทศจีน ประเทศญี่ปุ่น ประเทศอเมริกา ประเทศอินเดีย หรือแม้แต่สิงคโปร์ ที่มีจำนวน Developer ต่อจำนวนประชากรในอัตราที่สูง อย่างไรก็ตาม ในวงการ Tech Startup หรือ ในหมู่นักพัฒนา AI ของประเทศไทย (ที่เข้าใจงานจริงๆ ) จะทราบกันดีว่า กำลังขาด Developer อยู่จำนวนมาก หากสถานการณ์เป็นเช่นนี้อยู่อย่างต่อเนื่อง จะกลายเป็นว่า สุดท้ายแล้วเราอาจจะต้องพึ่งพา Developer ของต่างชาติ หรือพึ่งพาระบบสำเร็จรูปของต่างชาติอยู่ร่ำไป ทั้งหมดนี้ แก้ได้ด้วยความเข้าใจ ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ ภาคตลาดแรงงาน ภาคการศึกษา หรือแม้แต่ ภาคครัวเรือนที่สามารถผลักดันให้เยาวชนมีพื้นฐานที่ดีในการเป็นนักพัฒนาต่อไป ประเทศที่พัฒนาตัวเองขึ้นมาได้ ต่างมีนักพัฒนา และมีระบบที่พัฒนาขึ้นมาเองทั้งนั้น ดังนั้นการที่ประเทศไทยขาด Developer ก็เป็นปัจจัยหนึ่ง ในการพัฒนาประเทศของเรา

ทำไมวงการเทคโนโลยีของไทยถึงขาด Dev

Dev เป็นคำย่อจากคำว่า Developer ซึ่งหมายถึงนักพัฒนาต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น Website, Mobile Application รวมไปถึง Artificial Intelligence...

bottom of page