ความแตกต่างระหว่าง Digitization Digitalization และ Digital Transformation
Digital ในศัพท์บัญญัติว่า เชิงเลข ในทฤษฎีข้อมูลหรือระบบข้อมูล เป็นวิธีแทนความหมายของข้อมูล หรือชิ้นงานต่างๆในรูปแบบของตัวเลข โดยเฉพาะเลขฐานสอง ที่ไม่ต่อเนื่องกัน ซึ่งต่างจากระบบแอนะล็อกที่ใช้ค่าต่อเนื่องหรือสัญญาณแอนะล็อกซึ่งเป็นค่าต่อเนื่อง หรือแทนความหมายของข้อมูลโดยการใช้ฟังก์ชั่นที่ต่อเนื่อง
ในทางวิชาการอาจจะเข้าใจยาก ดังนั้นขอนำเสนอในรูปแบบที่เข้าใจง่ายขึ้นโดยเปรียบเทียบกับเข็มแสดงความเร็วของรถยนต์ ในรูปแบบแอนะล็อก คือ เข็มที่เคลื่อนที่ตลอดเวลา ทำให้การเก็บข้อมูลจะต้องอ่านค่าจากเข็ม ซึ่งอาจเกิดความคลาดเคลื่อนได้ ในขณะที่การแสดงความเร็วในรูปแบบดิจิทัลจะแสดงค่าเป็นตัวเลขซึ่งเป็นค่าที่แน่นอน ในมุมวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีส่วนใหญ่มีรูปแบบการส่งสัญญาณแบบดิจิทัล ทำให้เกิดคำว่ายุคดิจิทัลขึ้นนั่นเอง
ดังนั้น คำว่า Digital จึงใช้สื่อความถึงการเก็บ และส่งต่อข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์ เช่น รูปภาพดิจิทัล แตกต่างกับรูปจากฟิล์มเพราะรูปดิจิทัลสามารถเปิดดูได้ด้วยคอมพิวเตอร์ เป็นต้น
Transformation คือ การปรับเปลี่ยนให้มีความต่างไปจากเดิม เมื่อรวมกับ Digital Transformation จึงหมายถึงการปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานแบบเดิม ๆ โดยการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลซึ่งเปลี่ยนแปลงนี้มีผลกระทบในระดับองค์กร เพราะนอกเหนือจากกระบวนการทำงานที่เปลี่ยนแปลงไปแล้ว วิธีคิด และการนำเสนอสิ่งใหม่ ๆ ออกสู่ตลาดก็มีการเปลี่ยนแปลงไปด้วยเช่นกัน ตัวอย่างเช่น Netflix ได้เปลี่ยนตัวเองจากร้านเช่าวีดิโอไปสู่การทำ Online Streaming เป็นต้น
นอกจากนี้ ยังมีคำว่า Digitization และ Digitalization ซึ่งเป็นส่วนย่อยของ Digital Transformation อีกด้วย ซึ่ง Digitization หมายถึง การปรับเปลี่ยนข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบดิจิทัล เช่น การลดการกรอกข้อมูลในกระดาษมาเป็นการกรอกข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์ เป็นต้น ส่วน Digitalization หมายถึง การนำเอาเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้เพื่อปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงาน หรือกระบวนการทำงาน (Process) เช่น การใช้ระบบ Robotic Process Automation (RPA) หรือ โปรแกรมสร้างหุ่นยนต์เพื่อทำงานทดแทนกระบวนการทำงานในลักษณะงานซ้ำ ๆ รูปแบบเดิม ๆ แทนการทำงานแบบ Manual โดยใช้คน เป็นต้น Digital Technology ทำให้มีข้อมูลเกิดขึ้นบนโลกใบนี้ จำนวนมาก ขอให้เกิดเป็น Big Data ซึ่งความท้าทายของการนำข้อมูลเหล่านี้มาใช้ในองค์กร คือการบริหารจัดการทรัพยากรข้อมูลอย่างไร มีประสิทธิภาพสูงสุด การทำ Digital Transformation มีความท้าทายในการปรับเปลี่ยนกระบวนการฉันใด Data Management ก็มีความท้าทายในการบริหารจัดการข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่างๆ ฉันนั้น
Digital ในศัพท์บัญญัติว่า เชิงเลข ในทฤษฎีข้อมูลหรือระบบข้อมูล เป็นวิธีแทนความหมายของข้อมูล หรือชิ้นงานต่างๆในรูปแบบของตัวเลข...