Inventory Control ปัญหาใหญ่ของธุรกิจซื้อมา-ขายไป ที่ต้องใช้ Big Data
top of page

Inventory Control ปัญหาใหญ่ของธุรกิจซื้อมา-ขายไป ที่ต้องใช้ Big Data


Inventory Control The big problem of trading business

การบริหาร Inventory หรือ คลังสินค้า แบบทั่วๆ ไป จะมีหน่วยงานสั่งซื้อ เพื่อนำของมา Stock และรอจัดส่ง ในระหว่างรอนี้เอง อาจจะมีกิจกรรมต่างๆ เพื่อดูแลรักษาของให้อยู่ในสภาพพร้อมส่ง ซึ่งกระบวนการเหล่านี้ ล้วนแต่มีค่าใช้จ่ายที่มองไม่เห็น ได้แก่

  • เงินต้นที่ต้องนำไปซื้อสินค้า (มีค่าเสียโอกาสของเงิน หรือดอกเบี้ย)

  • ค่าเช่าที่ หรือรายจ่ายที่ต้องมีในการบริหารสถานที่เพื่อ Stock สินค้า

  • ค่าจ้างพนักงานที่ต้องทำหน้าที่จัดเก็บ และจัดส่งสินค้า

  • ค่าเสื่อมในกรณีที่สินค้าขายไม่ออก

เป็นต้น

องค์กรที่มีการบริหาร Inventory ที่ดี จะมีระบบที่ ERP (Enterprise Resource Planning) หรือ ระบบวางแผนทรัพยากรทางธุรกิจขององค์กรโดยรวม อย่างไรก็ตาม ERP เป็นระบบที่ใช้เพื่อการจัดการ ที่ไม่สามารถทำ Predictive Model หรือ วิเคราะห์เชิงลึกได้

ในการบริหาร Inventory ต้องวิเคราะห์อะไร

  • ประมาณการจำนวน และประเภทสินค้าที่ควรสั่งซื้อ เพื่อนำมาเก็บเอาไว้ที่ Warehouse

  • ประมาณการแจกจ่ายสินค้า จำนวน และประเภทต่างๆ ไปยังสาขา หรือหน้าร้าน

  • ขนาดของ Warehouse ที่เหมาะสม และคุ้มค่าต่อ Demand

  • สถานที่ตั้ง และจำนวนของ Distribution Center

  • จำนวนพนักงาน

  • อื่นๆ อีกมากมาย

การวิเคราะห์ขั้นต้น ล้วนแต่ต้องใช้ Data ซึ่งส่วนใหญ่ เป็นการใช้ข้อมูลเก่า นำมาวิเคราะห์อย่างง่าย และประเมินเป็นค่าประมาณการออกมาโดยใช้ประสบการณ์หน้างาน ซึ่งอาจจะมีทั้งประเมินถูก และประเมินผิด เนื่องจากมีสินค้าจำนวนมาก และไม่มีระบบที่ใช้ในการประเมินหรือวิเคราะห์เชิงลึก ทำให้ไม่สามารถตรวจสอบความแม่นยำของการประเมินได้

สิ่งเหล่านี้ นำพามาซึ่ง “การเสียโอกาสทางธุรกิจ” ไม่ว่าจะเป็น

  • การประเมินที่ โดยที่ไม่มีการตรวจสอบ

  • อาจมีของบางประเภทมากเกินจนล้นตลาด

  • อาจมีของบางประเภทสั่งมาน้อยเกินจนขาดตลาด

  • ไม่มีระบบเพื่อ Alert ในกรณีที่ของใกล้หมดอายุ

  • ไม่มีระบบการแจกจ่ายไปยังสาขาที่ชัดเจน

  • จ่ายค่าขนส่งมากเกินความเหมาะสม

Big Data และ Data Science สามารถช่วยได้ โดยใช้ Predictive Model ในการทำนายยอดขาย ใช้ Clustering Model เพื่อระบุกลุ่มเป้าหมายของการขนส่ง และใช้ Optimization เพื่อประเมินจำนวน และรอบการจัดซื้อที่เหมาะสมของสินค้าแต่ละประเภท

ซึ่งหากสามารถนำ Data ที่มีอยู่ในระบบ มาเชื่อมต่อกัน รวมเข้ากับการเขียน Data Model และสร้างออกมาเป็นระบบที่สามารถดึงข้อมูล และวิเคราะห์ได้อย่างอัตโนมัติ ก็จะทำให้การทำงานเพื่อควบคุม Inventory เป็นไปได้อย่างราบรื่น เป็นการจัดการแบบ Data Driven Business อย่างแท้จริง

สนใจรายละเอียดเกี่ยวกับการทำ Data Driven Inventory Control โดยเป็นการออกแบบระบบเพื่อองค์กรแต่ละองค์กรอย่างเป็นเอกลักษณ์ไม่ซ้ำกัน ติดต่อได้ที่ inquiry@coraline.co.th

 

แท็ก:

< Previous
Next >
bottom of page