ในองค์กรของคุณ มีปัญหาเหล่านี้ใช่หรือไม่?
การเกี่ยงงานกันในเรื่องการดูแลข้อมูล เช่น ข้อมูลชุดนี้ไม่สะอาดแล้วใครจะต้องแก้ไข ต้องเป็นเจ้าของข้อมูล หรือฝ่าย IT หรือสุดท้ายจะกลายเป็น User ที่ต้องแก้ไขเอง
การที่แต่ละหน่วยงานมีมาตรฐานของตัวเอง ข้อมูลชุดเดียวกันแต่นำไป Process ด้วยวิธีที่ต่างกัน ทำให้ผู้บริหารได้รับข้อมูลที่ไม่ตรงกัน สุดท้ายก็ไม่รู้จะต้องใช้ข้อมูลของฝ่ายไหน
ขาดความรู้ความเข้าใจในการบริหารจัดการข้อมูล ตกลงข้อมูลจะต้องออกแบบการเข้าถึงอย่างไร ใครเข้าถึงได้บ้าง ไม่ทราบว่าชุดข้อมูลที่อ่อนไหวจะต้องจัดการแตกต่างจากข้อมูลทั่วไปอย่างไร
ข้อมูลไร้คุณภาพ ไม่ตอบโจทย์การใช้งาน เพราะไม่มีการกำหนดกฎเกณฑ์กลาง และไม่มีระบบในการกลั่นกรองข้อมูล
ไม่มีมาตรฐานกลาง ขาดความน่าเชื่อถือในการใช้ข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นมาตรฐานการกรอก การจัดเก็บ การใช้ และการทำลาย
ข้อมูลเข้าถึงยาก มีวัฒนธรรมการหวงแหนข้อมูล
ปัญหาเหล่านี้ เกิดขึ้นจากการเก็บข้อมูลภายในองค์กร โดยไม่มีการวางนโยบาย ทำให้ข้อมูลถูก "จัดเก็บ และดูแล" โดยฝ่าย IT ซึ่งไม่ใช่เจ้าของข้อมูลที่แท้จริง ดังนั้นฝ่าย IT จึงไม่มีหน้าที่ในการตรวจสอบ หรือจัดการข้อมูลนอกเหนือไปจากการทำให้ระบบทำงานได้ตามปกติ
นอกจากนี้ ยังพบว่า ข้อมูลบางชุดถูกจัดเก็บเอาไว้นอกเหนือการดูแลของฝ่าย IT อีกด้วย ทำให้ข้อมูลกระจัดกระจาย และขาดมาตรฐาน ทำให้ยากต่อการนำไปใช้งาน
โครงการ Data Governance คือการวางนโยบาย วาง Process และจัดตั้งมาตรฐานในการกำกับดูแลข้อมูล ทำให้รู้ได้ว่า ข้อมูลอยู่ที่ไหน ใครดูแล ใครเข้าถึงได้บ้าง และมีคุณภาพข้อมูลตามมิติชี้วัดต่าง ๆ อย่างไร ดังนั้นเมื่อดำเนินการได้อย่างสมบูรณ์แล้วสิ่งที่องค์กรจะมีก็คือ
บทบาทหน้าที่ของผู้เกี่ยวข้องกับข้อมูล สามารถระบุได้ว่า ใครเป็นเจ้าของข้อมูล ใครเป็นผู้ดูแลข้อมูล ใครเป็นผู้ใช้งานข้อมูล
มีมาตรฐานและนโยบายที่ต้องถูกนำไปบังคับใช้ ไม่ว่าจะเป็นการดูแลข้อมูลอ่อนไหว ความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูล และการประเมินคุณภาพของข้อมูลให้มีความพร้อมสำหรับการนำไปใช้งาน
บุคลากรทั้งองค์กร มีความเข้าใจในกระบวนการกำกับดูแลข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นในบทบาทหน้าที่ผู้ใช้งาน ผู้จัดเก็บ หรือ เจ้าของข้อมูล
ข้อมูลมีคุณภาพพร้อมใช้ โดยมีการตัวชี้วัดกลางที่น่าเชื่อถือ และมีการตรวจสอบคุณภาพของข้อมูลจากส่วนกลางก่อนนำไปใช้งาน
มีการวางกระบวนการเกี่ยวกับข้อมูลที่ชัดเจน ตั้งแต่การสร้างข้อมูล การส่งต่อ การจัดเก็บ การใช้ การเก็บถาวรและการทำลาย
มีการประเมินความเสี่ยงและกำหนดสิทธิ์ในการเข้าถึงข้อมูล เพื่อลดปัญหาการหวงแหนข้อมูล และเพื่อความปลอดภัยของข้อมูล
การวางรากฐานสำหรับโครงการ Data Governance ไม่ใช่เรื่องง่าย โดยจะต้องมีผู้เชี่ยวชาญทั้งด้าน Data Management, Data Policy และ Data Protection ที่เคยมีประสบการณ์ เพื่อสามารถวางแนวทางการ Implement ได้อย่างเหมาะสม และจำเป็นต้องมีการลงโปรแกรม Data Catalog เพื่อใช้เป็นเทคโนโลยีในการกำกับดูแลข้อมูลอีกด้วย นั่นเป็นเหตุผลว่า ทำไมหลายโครงการดำเนินโครงการ Data Governance แล้ว แต่ปัญหาต่าง ๆ ยังไม่ได้รับการแก้ไข
สุดท้ายแล้ว ทุกองค์กร จะต้องดำเนินโครงการ Data Governance ไม่ว่าจะช้าหรือเร็ว เพราะ Data ได้กลายเป็นทรัพยากรที่สำคัญของทุกองค์กร ไม่ต่างกับทรัพยากรบุคคล และเมื่อเรามีกฎระเบียบและเครื่องมือในการกำกับดูแลทรัพยากรบุคคลฉันใด เราก็จำเป็นต้องมีกฎระเบียบและเครื่องมือในการดูแลทรัพยากรข้อมูลฉันนั้น
#Coraline ให้คำปรึกษา และรับพัฒนาโครงการ Data Governance, Data Management, Data Analytics, Data-driven Transformations และ ChatGPT for Enterprise เพื่อเพิ่มศักยภาพของธุรกิจ
Tel: 099-425-5398
Email: inquiry@coraline.co.th
Facebook page: https://www.facebook.com/coralineltd
Website: https://www.coraline.co.th/
Comments