คุณเคยได้ยินประโยคเหล่านี้หรือไม่?
1. ข้อมูลอยู่แยกส่วนกัน ไม่รู้ใครรับผิดชอบอันไหน 2. ข้อมูลแต่ละถัง Update ไม่เหมือนกัน 3. ไม่รู้ว่าในองค์กรมีข้อมูลอะไรบ้าง 4. ข้อมูลไม่มีคุณภาพ ไม่รู้ว่าใครรับผิดชอบ และต้องแก้ไขอย่างไร 5. ไม่ทราบกระบวนการในการเข้าถึงฐานข้อมูล 6. ไม่มีการจัดลำดับชั้นความลับ หรือความเป็นส่วนตัวของข้อมูลในส่วนต่างๆ 7. ปัญหาการหวงแหนข้อมูล
และปัญหาอื่นๆอีกมากมายที่เกิดจากการบริหารจัดการข้อมูลที่ไม่เรียบร้อย
ทั้งหมดนี้ต้องเริ่มแก้จากการวางนโยบายขององค์กร
การดำเนินโครงการ Data Governance เป็นโครงการเพื่อวางนโยบายในการเข้าถึงและรู้สถานะของข้อมูล โดยแบ่งออกเป็นส่วนของบทบาทของผู้เกี่ยวข้องไปจนถึงการจัดลำดับสถานะของข้อมูลในเชิงเทคนิคการบริหารจัดการข้อมูล
โดยการดำเนินโครงการ Data Governance ของ Coraline ประกอบไปด้วย 9 องค์ประกอบ ได้แก่
1. บทบาท และการกำกับดูแลข้อมูล (Role and Policy) 2. ความเป็นส่วนตัวของข้อมูล (Data Privacy) 3. สถาปัตยกรรมข้อมูล (Data Architecture) 4. การจัดทำคำอธิบายข้อมูล (Metadata) 5. วงจรชีวิตข้อมูล (Data Life Cycle) 6. คุณภาพข้อมูล (Data Quality) 7. ความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูล (Data Security) 8. กิจกรรมของข้อมูลและการติดตามควบคุม (Data Activities and Monitoring) 9. การนำข้อมูลออกจากระบบ (Data Export)
ส่วนการดำเนินโครงการ Data Assessment เป็นการเข้าไปประเมินความพร้อม เพื่อวางรากฐานของการดำเนินโครงการ Big Data ซึ่งหากไม่มีกระบวนการ Data Assessment เสียก่อนอาจทำให้การลงทุนด้าน Big Data ไร้ประโยชน์
ความคิดเห็น